วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560

ขั้นตอนการวางท่อพีอี (HDPE PIPE)

1.    เตรียมงานก่อนวางท่อ HDPE         

ก่อนวางท่อ HDPE จะต้องดำเนินการดังนี้

1.1  ติดตั้งป้ายเตือนระหว่างก่อสร้าง ตามมาตรฐาน

1.2   ขนย้ายท่อ HDPE  ขนาดตามที่กำหนด จัดเรียงเป็นแนวยาวตามแบบแปลน  โดยไม่กีดขวางการจราจร      

1.3   วางเครื่องเชื่อมท่อ HDPE ในตำแหน่งที่ต้องการเชื่อม ให้มีความแข็งแรงมั่นคง  ไม่ทรุดตัว   

1.4   ใช้เครื่องจักรยกท่อลงบนเครื่องเชื่อมโดยใช้สายพานยกท่อ  ส่วนปลายท่อให้ใช้  Roller หนุนท่อให้ได้ระดับ   

1.5   ดำเนินการเชื่อมท่อHDPE ตามขั้นตอนการเชื่อมท่อด้วยวิธี Butt Fusionโดยช่างเชื่อมที่ผ่านการอบรมแล้ว   

1.6   ดำเนินการเชื่อมท่อ HDPE ตามขั้นตอนที่ 1.3และ1.5 เป็นคู่ๆ ไว้ล่วงหน้าก่อนขุดร่องดินลงท่อตามขั้นตอนต่อไป

2.      วิธีการวางท่อ HDPE ในร่องดิน   

2.1   สำรวจแนว , ระยะขุดวางท่อ HDPE ให้ชัดเจน  กรณีวางท่อในผิวจราจรจะต้องตีแนวและใช้เครื่องตัดผิวให้เป็นเส้นตรง   

2.2   ทุบรื้อผิวคอนกรีต(ถ้ามี) และใช้เครื่องจักรขุดร่องดินให้ได้ความลึกตามข้อกำหนด   

2.3   ใช้แรงงานปรับดินในร่องท่อให้ได้ระดับและปรับทรายพร้อมบดอัดแน่น   

2.4   ใช้เครื่องจักรยกท่อที่เชื่อมจับคู่ตามขั้นตอนที่ 1.6 ไว้แล้วลงในร่องดินตามข้อ 2.3   

2.5   กลบข้างท่อและหลังท่อด้วยทรายพร้อมบดอัดแน่นตามที่กำหนดแล้วตามด้วยวัสดุเดิมจนถึงระดับที่ต้องการ    

2.6   ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 2.2 ถึง ขั้นตอนที่ 2.5  จนได้ความยาวตามที่ต้องการ พร้อมทั้งบันทึกระยะจากศูนย์กลางถนนถึงแนวท่อ , ระดับความลึกหลังท่อลงในแบบแปลนทุกระยะ 200 เมตร    

2.7   เติมน้ำในเส้นท่อและทดสอบแรงดันน้ำเพื่อตรวจสอการรั่วซึมตามข้อกำหนด   

2.8   ดำเนินการซ่อมผิวจราจร , ทางเท้า (ถ้ามี) คืนสภาพเดิม

วันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559

การต่อท่อพีอีที่มีความหนาไม่เท่ากัน

         ในงานวางท่อพีอีท่อจะมีความหนาแตกต่างกันตามชนิดของ PN  ท่อพีอีที่มี PN สูงความหนาก็จะมีมากตามไปด้วย ในกรณีที่จำเป็นต้องต่อท่อพีอีที่มีความหนาต่างกัน (PN ต่างกัน) เช่นในกรณีที่ท่อพีอีเดิมที่วางไว้แล้วเป็นท่อ PN 6 ต่อกับท่อพีอี ที่ต้องการวางใหม่เป็น PN 10 การต่อท่อพีอีลักษณะดังกล่าว จะต้องต่อด้วยแบบหน้าจาน (ใช้สตับเอ็นและแบคกิ้งริง) เนื่องจากไม่สามารถทำการเชื่อมชนได้เพราะความหนาต่างกันทำให้พื้นที่หน้าตัดท่อเหลี่ยมกันมากเมื่อเชื่อมแล้วท่อพีอีจะใช้งานได้ไม่นานก็จะแตกเสียหายได้

          ปัญหาที่ความหนาท่อพีอีไม่เท่ากันสามารถเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ได้แก่

    1.  ท่อที่ผลิตจากโรงงานไม่ได้มาตรฐานมีลักษณะเบี้ยวไม่กลมและมีความหนาไม่เท่ากัน   ดังนั้นก่อนการเชื่อมท่อพีอีต้องตัดท่อที่มีลักษณะดังกล่าวออกเสียก่อน เพื่อจะให้ไม่เกิดปัญหาในภายหลัง

    2.  ท่อพีอีที่ใช้ความดันที่สูงเมื่อใช้งานไประยะหนึ่งแล้ว   ท่อพีอีจะมีขนาดโตกว่ามาตรฐานเล็กน้อยประมาณ 3-5% ของความหนาท่อ   เช่น ขนาดมาตรฐาน OD500 มม.เมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่งจะมีขนาด OD501 มม. ดังนั้นในการต่อท่อพีอีเดิมกับท่อพีอีใหม่ต้องต่อท่อพีอีด้วยหน้าจานเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

รายชื่อผู้ผลิตท่อและอุปกรณ์พีอี(HDPE)

ผู้ผลิตท่อและอุปกรณ์พีอี ได้แก่

บริษัท  ไทยก้าวไกลกรุ๊ป  จำกัด

บริษัท  ไทยพัฒนา พีอี ไพพ์ จำกัด

บริษัท  ไทยวินิเทค  จำกัด

บริษัท  ไทย-เอเชีย พี.อี.ไพ้พ์   จำกัด

บริษัท  บางกอกไพบูลย์ไพพ์  จำกัด

บริษัท  พีบีไพพ์ (ไทยแลนด์) จำกัด

บริษัท  เพชรสยาม พีอี ไพ้พ์  จำกัด

บริษัท วิค แอนด์ฮุคลันด์ จำกัด(มหาชน)

บริษัท  อิมแพคไพพ์เอ็กซ์ทรูเดอร์  จำกัด

บริษัท  อุตสาหกรรมท่อน้ำไทย จำกัด

บริษัท  เอส.อาร์ พีอีกรุ๊ป  จำกัด

วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การเชื่อมต่อท่อ HDPE แบบเชื่อมชน(Butt Fusion)

       การเชื่อมท่อ  HDPE แบบเชื่อมชน (Butt Fusion) แนวเชื่อมที่สมบูรณ์ ประกอบด้วย สิ่งสำคัญดังนี้
ข้อที่ 1   อุณหภูมิขณะเชื่อม จะต้องมีค่าอยู่ระหว่าง  205 ถึง 220 องศา
ข้อที่ 2  ผิวหน้าท่อต้องสะอาด ปราศจากคราบไขมัน สิ่งสกปรกต่างๆ แก้ไขได้ โดยอาศัย แอลกอฮอล์ ชุบสำลีทำความสะอาด ห้ามใช้ทินเนอร์โดยเด็ดขาด เนื่องจากไปกัดกับผิวหน้าของแผ่นความร้อน
ข้อที่ 3  แนวท่อที่จะเชื่อม ต้องอยู่ในแนวเดียวกัน เยื้องศูนย์กัน ไม่เกิน 10% ของความหนาท่อ
ข้อที่ 4  แรงดัน ในขณะเชื่อมชน จะต้องเหมาะสม เพื่อจะได้แนวเชื่อมที่สมบูรณ์ โดยสังเกตุจากแนวตะเข็บที่ม้วน มีค่าเท่ากับความหนาของท่อโดยประมาณ
ข้อที่ 5  เครื่องปั่นไฟสนาม จะต้องใช้ ให้เหมาะสมกับเครื่องเชื่อมแต่ละขนาด หากกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอจะทำให้ เครื่องควบคุมดาต้าล็อคเกอร์ (data logger)เสียหายได้

วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อุปกรณ์สำหรับต่อท่อเอชดีพีอีแบบ butt fusion


       การต่อท่อ HDPE แบบเชื่อมชน( Butt Fusion) จะต่อโดยอาศัยความร้อนที่อุณหภูมิ 210 องศาเพื่อให้เนื้อท่อหลอมละลายติดกัน ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 110 มม. ถึง 1600 มม. ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับท่อเอชดีพีอี (HDPE) แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1. ชุดข้าง ใช้สำหรับประสานท่อเอชดีพีอี(HDPE)กับอุปกรณ์ท่อ เช่น สามทางหน้าจาน ท่อลด ประตูน้ำ ฯลฯ ประกอบด้วย1. หน้าแปลนพีอี (Stub End) 1 ตัว

2. แหวนเหล็ก (Backing Ring) 1 ตัว

3. สกรู 1 ชุด

4. ประเก็นยาง 1 แผ่น

2. ครบชุด ใช้สำหรับประสานท่อเอชดีพีอี(HDPE) กับท่อเอชดีพีอี(HDPE)  กรณีที่ ท่อชั้นคุณภาพไม่เท่ากัน   ต่างโรงงาน   ซ่อมท่อ   ฯลฯ  ประกอบด้วย

1. หน้าแปลนพีอี (Stub End) 2 ตัว

2. แหวนเหล็ก (Backing Ring ) 2 ตัว

3. สกรู 1 ชุด

4. ประเก็นยาง 1 แผ่น


stubend2                              ภาพแสดงข้อต่อท่อพีอีแบบหน้าจาน

1. Stub End ทำมาจากท่อเอชดีพีอี(HDPE)หนาแล้วไปกลึงขึ้นรูป หรือหล่อให้ได้มิติตามมาตรฐาน ก่อนสั่งซื้อต้องระบุให้ชัดว่าเป็น PN อะไร ขึ้นอยู่กับท่อที่ใช้


                   clip_image004

2. Backing Ring  ทำมาจากเหล็ก Ductile Iron หรือเหล็กเหนียว แต่โดยทั่วไปโรงงานผลิตท่อมักจะใช้เป็นเหล็กเหนียว ดังนั้น ก่อนสั่งซื้อต้องระบุให้ชัดว่าเป็นเหล็ก Ductile Iron หรือเหล็กเหนียว


clip_image006

3.สลักเกลียวและแป้นเกลียว ทำมาจากเหล็ก Ductile Iron หรือเหล็กชุบสังกะสี ขนาดและความยาวของสลักเกลียวขึ้นอยู่กับขนาดของท่อและชั้นคุณภาพท่อด้วย อีกทั้งต้องระบุให้ชัดว่าใช้แบบชุดข้างหรือแบบครบชุด ปัญหาที่เจอบ่อยคือ ความยาวของสลักเกลียวไม่เพียงพอ


clip_image008

4. ประเก็นยาง ประเก็นยางของท่อพีอีจะใช้แบบ”หูยก”ไม่ต้องมีรูเหมือนกับประเก็นยางหน้าจานแบบงานท่อทั่วไป


clip_image010



การทดสอบท่อเอชดีพีอี (HDPE)

การทดสอบท่อเอชดีพีอี จะดำเนินการทดสอบตามขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ใช้แรงดันทดสอบดังนี้ 

- แรงดันทดสอบไม่น้อยกว่า  6.0 บาร์ สำหรับท่อเอชดีพีอี PN 10 

- แรงดันทดสอบไม่น้อยกว่า  5.5 บาร์ สำหรับท่อเอชดีพีอี PN 8 

- แรงดันทดสอบไม่น้อยกว่า  4.6 บาร์ สำหรับท่อเอชดีพีอี PN 6.3

***ใช้ระยะเวลาทดสอบ 2 ชั่วโมง เมื่อแรงดันในเส้นท่อลดลงมากกว่า 0.2 บาร์ ให้เติมน้ำเข้าไปจนได้แรงดันทดสอบ

ขั้นตอนที่ 2 เพิ่มแรงดันทดสอบเท่ากับ 1.3 เท่า ของแรงดันทดสอบขั้นตอนที่ 1 ภายในเวลาไม่เกิน 6 นาที 

- แรงดันทดสอบไม่น้อยกว่า  7.8 บาร์ สำหรับท่อเอชดีพีอี PN 10

- แรงดันทดสอบไม่น้อยกว่า  7.2 บาร์ สำหรับท่อเอชดีพีอี PN 8 

- แรงดันทดสอบไม่น้อยกว่า  6.0 บาร์ สำหรับท่อเอชดีพีอี PN 6.3 

***ใช้ระยะเวลาทดสอบ 2 ชั่วโมง เมื่อแรงดันในเส้นท่อลดลงมากกว่า 0.2 บาร์ ให้เติมน้ำเข้าไปจนได้แรงดันทดสอบ

ขั้นตอนที่ 3 ลดแรงดันทดสอบในท่อให้เหลือเท่ากับแรงดันทดสอบในขั้นตอนที่ 1ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 6 นาทีแล้วปิดประตูน้ำทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นจึงวัดปริมาณน้ำที่เติมเข้าไปเพื่อให้แรงดันในท่อเท่ากับแรงดันทดสอบในขั้นตอนที่ 1 ปริมาณน้ำที่เติมไปนั้นไม่เกินค่าที่กำหนดไว้

19-10-2556 20-06-51

ส่วนประกอบของเครื่องเชื่อมท่อHDPE

      เครื่องเชื่อมท่อ HDPE โดยวิธีเชื่อมชน (BUTT FUSION) ประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้

02

1. โครงเครื่อง สำหรับจับยึดปลายท่อทั๊งสองข้าง โดยมีแค้ม 2 ชุดตั้งอยู่บนกระบอกไฮโดรลิค

2. ชุดแม่แรงไฮโดรลิค ขับเคลื่อนด้วยMotor มีวาล์วมือโยกสำหรับบังคับกระบอกไฮโดรลิค เคลื่อนเข้าออก พร้อม ทั้งวาล์วปรับแรงดัน และ Pressure Gauge เพื่อใช้ปรับแรงดันขณะเชื่อมท่อ และ วาล์ว By pass ลดแรงดันช่วงแช่ความร้อน พร้อม Accumulator เสริมแรงดันช่วง ทิ้งให้เย็น

3. ตัวปาดหน้าท่อ สำหรับปาดหน้าท่อให้เรียบและตั้งฉาก ขับด้วย มอเตอร์เกียร์

4. แผ่นความร้อน เคลือบด้วย Taflon ทั้งสองด้าน สำหรับหลอมละลายท่อให้ติดกัน

5. ไส้ประกับ สำหรับจับท่อเปลี่ยนขนาดได้ตามที่ต้องการใช้งาน

ขั้นตอนการวางท่อพีอี (HDPE PIPE)

1.     เตรียมงานก่อนวางท่อ HDPE           ก่อนวางท่อ HDPE จะต้องดำเนินการดังนี้ 1.1     ติดตั้งป้ายเตือนระหว่างก่อสร้าง ตามมาตรฐาน ...